หัวเว่ย เสนอห้าลำดับสำคัญเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม พร้อมเปิดตัวรายงาน Global Connectivity Index ฉบับที่ 7


 

หัวเว่ย เสนอห้าลำดับสำคัญเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม
พร้อมเปิดตัวรายงาน Global Connectivity Index ฉบับที่ 7

 

 

[เซินเจิ้น, ประเทศจีน 1 มีนาคม พ.ศ. 2564] - หัวเว่ย เปิดตัวรายงาน Global Connectivity Index (GCI) 2020 ซึ่งเป็นรายงาน GCI ที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับที่ 7 และเป็นครั้งแรกที่รายงานดังกล่าวเสนอห้าลำดับสำคัญเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลสำหรับภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย การเสริมประสิทธิภาพของงานแต่ละชิ้น, การเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน,
การเสริมประสิทธิภาพระบบ, การเสริมประสิทธิภาพและความคล่องตัวขององค์กร รวมถึงการเสริมประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในอีโคซิสเต็ม

 

รายงาน GCI 2020 ชี้ว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมจะช่วยให้แต่ละประเทศเพิ่มศักยภาพการผลิต เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในอนาคตได้อย่างดีเยี่ยม ผลการวิจัยจาก GCI ยังระบุว่าเศรษฐกิจที่สามารถเสริมความแข็งแกร่งด้านการผลิต และปรับตัวสู่ระบบดิจิทัลซึ่งขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมต่ออัจฉริยะ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มรวม (GVA) ต่อคนหรือต่อชั่วโมงการทำงานได้

 

ประเทศ Starters เดินหน้ารุกคืบ เร่งลดระยะห่างทางเศรษฐกิจ

รายงาน GCI 2020 ระบุว่าบรรดาประเทศที่อยู่ในช่วงต้นของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Starter) มีความคืบหน้าด้านการขยายความครอบคลุมบรอดแบนด์ในประเทศอย่างเห็นได้ชัด โดยพบว่ามีอัตราการเข้าถึงบริการบรอดแบรนด์โทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้นถึง 2.5 เท่า และมีราคาค่าบริการที่ย่อมเยาขึ้นถึง 25% ในขณะที่อัตราผู้รับบริการสัญญาณ 4G เพิ่มขึ้นจาก 1% เป็น 19% ซึ่งความสำเร็จนี้ทำให้เหล่าประเทศ Starter ให้บริการดิจิทัลที่ครอบคลุมได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถตอบรับโอกาสที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่างบประมาณด้านอีคอมเมิร์ซของประเทศเหล่านี้พุ่งสูงขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว โดยบางประเทศ Starter สามารถดันตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ได้สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ถึง 22% และในปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศอย่างเวียดนามและเปรู ก็กลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่รับเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในประเทศ (Adopter) เป็นที่เรียบร้อย

 

องค์กรต่าง ๆ ในประเทศ Frontrunner ต่างระบุว่าควรรักษางบประมาณด้านไอทีไว้เช่นเดิม

งานวิจัยชี้ว่า ความพร้อมขององค์กรในการลงทุนด้านไอทีมักขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของธุรกิจ โดยพบว่า องค์กรที่ดำเนินงานอยู่ในประเทศที่รับเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่มาใช้เป็นอันดับต้น ๆ (Frontrunner) และประเทศที่กำลังรับเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ (Adopter) ต่างให้ความสำคัญต่องบประมาณด้านไอทีมากกว่างบประมาณอื่น ๆ ดังนั้น ประเทศที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างดิจิทัลมากกว่า ก็จะสามารถลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สืบเนื่องมาจากภาวะโรคระบาด ส่งผลให้ฟื้นตัวได้เร็ว และมีความต่อเนื่องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะก่อให้เกิดศักยภาพการผลิตที่สูงขึ้น

 

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคเศรษฐกิจจะช่วยพัฒนาศักยภาพการผลิต เร่งฟื้นฟูภาคธุรกิจ และเสริมความสามารถในการแข่งขัน

รายงาน GCI ยังเสนอห้าระยะสำคัญเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคเศรษฐกิจ ดังนี้

 

ระยะที่ 1 เสริมประสิทธิภาพในแต่ละงาน มุ่งให้ความสำคัญต่อการติดตามงานแต่ละชิ้น ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปี่ยมประสิทธิภาพยิ่งขึ้นผ่านการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน

 

ระยะที่ 2 เสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานผ่านคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติที่เสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีไอซีทีช่วยให้องค์กรสามารถรองรับการทำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งยังช่วยให้แบ่งปันข้อมูลได้ราบรื่นยิ่งขึ้น

 

ระยะที่ 3 เสริมประสิทธิภาพระบบ ตอกย้ำความสำคัญกับการปรับระบบการทำงานหลักให้มีความเป็นดิจิทัล เพื่อการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด ธุรกิจองค์กรจะมีความต้องการการเชื่อมต่อและบริการคลาวด์ที่มากขึ้นในระยะนี้

 

ระยะที่ 4 เสริมประสิทธิภาพและความคล่องตัวขององค์กร ขั้นตอนการทำงานของธุรกิจองค์กรปรับมาอยู่ในระบบดิจิทัล และมีการผสานแอปพลิเคชันขององค์กรสู่ระบบคลาวด์ เชื่อมโยงทุกระบบอย่างเต็มรูปแบบ

 

ระยะที่ 5 เสริมประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในอีโคซิสเต็ม อีโคซิสเต็มทั้งหมดก้าวเข้าสู่ระบบดิจิทัล และสามารถปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในตลาดได้อย่างรวดเร็ว รองรับการจัดการแบบอัตโนมัติและการทำงานร่วมกันข้ามอุตสาหกรรมของภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งมีเทคโนโลยีสำคัญอย่าง 5G, IOT, และวิทยาการหุ่นยนต์ ที่คอยขับเคลื่อนโอกาสทางธุรกิจ พร้อมปั้นโมเดลทางธุรกิจ วิธีการทำงาน และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ผ่านขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมสู่ระบบดิจิทัล

 

ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนด้านไอซีทีจากรายงาน GCI 2020 ระบุว่า ถึงแม้การลงทุนในประเทศไทยจะมุ่งเน้นไปที่ด้านฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์มือถือเป็นหลัก แต่ก็ยังสามารถมองเห็นการเติบโตด้านเทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ประเทศไทยจะยังต้องเผชิญปัญหาความไม่แน่นอนจากสภาพเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ทางการเมือง ทางฝั่งของภาคธุรกิจก็ยังคงลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างนวัตกรรมด้านดิจิทัลใหม่ ๆ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดยอัตราการใช้งานเทคโนโลยีประมวลผลคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นถึงสามเท่าในช่วงสามปีที่ผ่านมา ซึ่งมีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นตัวช่วยผลักดันเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศอันดับที่สามในด้านความก้าวหน้าของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งและมาเลเซียซึ่งเป็นอันดับสอง 

 

รายงาน GCI ถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยเร่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลกับผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบเศรษฐกิจ โดยได้ประเมินความคืบหน้าของ 79 ประเทศ ซึ่งนับเป็น 95% ของมูลค่า GDP ทั้งหมด และคิดเป็น 84% ของจำนวนประชากรทั่วโลก

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านเพิ่มได้ที่ https://www.huawei.com/minisite/gci/en


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“Sanan Angubolkul” becomes the 25th Chairman of the Thai Chamber of Commerce To continue the TCC mission, highlighting “Connect the Dots” policy to revitalize Thai economy within 99 days

ศุกร์ 22 ม.ค.นี้ ธอส. ชวนมีบ้านง่ายๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส ขนบ้านมือสองทั่วประเทศ 990 รายการ มาเปิดประมูลออนไลน์ “บ้านถูกใจ หาได้ที่ ธอส ”

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ เชิญร่วมบริจาคเงินสมทบกองทุนสู้ภัยโควิด-19